ในช่วงนี้นักศึกษากำลังสอบและใกล้จะจบการศึกษากันเป็นจำนวนมาก HR ทำหน้าที่อะไรบ้าง และเมื่อเรียนจบก็คงมุ่งหน้าหางานทำกันเป็นส่วนใหญ่ มีบางส่วนจะเรียนต่อเพราะมีความคิดว่าจบปริญญาตรีสมัยนี้น้อยไปจบกันมาเยอะแข่งกันหางานยากจึงเรียนต่อปริญญาโทก็มีมาก อาจจะว่าเป็นแฟชั่นกันไปแล้วก็เป็นได้ ส่วนที่เรียนสายอาชีวะจบปวช. ปวส. แล้วทำงานเลยเริ่มมีน้อยจนกลายเป็น กลุ่มที่ต้องการในตลาดแรงงานอย่าง
HR ทำหน้าที่อะไรบ้าง มาดูกัน
ในทำนองเดียวกันผู้ที่จบปริญญาตรีเมื่อต้องรองานนาน ๆ เข้าก็เริ่มยอมรับสภาพการหางานยากยอมลดตัวเองลงมาทำงานในตำแหน่งที่ต่ำกว่าที่ตนเองอยากทำในที่สุด ซึ่งจะเกิดปัญหาการอยู่ไม่นานตามมาอีก เพราะเมื่อไหร่ที่มีงานที่เหมาะสมกับระดับการศึกษาที่จบมาก็จะลาออกทันที อัตราการลาออกในบริษัทหลายแห่งจึงสูงขึ้นเพราะสาเหตุนี้เอง จะไปกล่าวโทษว่าเด็กสมัยนี้อยู่ไม่ค่อยทนจึงไม่ถูกต้องนัก เพราะเมื่อไหร่ที่เขามีทางเลือกที่ดีกว่า ทุกคนย่อมไขว่คว้ากันทั้งนั้น
สำหรับคนทำงานด้านสรรหาที่ต้องการรับพนักงานใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์การทำงานมาก่อนคงต้องวางกลยุทธ์ในการสรรหาคนกลุ่มนี้ไว้ล่วงหน้า เพราะสมัยนี้โลกของคนทำงานรุ่นใหม่เปลี่ยนไปแล้วอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นการเลี้ยงดูจากพ่อแม่ยุคใหม่ ระบบการศึกษาแนวใหม่ การเปิดกว้างขึ้นของสังคมไทยที่ยอมรับวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออกอย่างญี่ปุ่นและเกาหลีมากขึ้น ทำให้คนรุ่นใหม่มีมุมมองในการทำงานที่แตกต่างไปจากเมื่อ 10-20 ปีที่ผ่านมามาก
มุมมองในการหางานของคนรุ่นนี้แตกต่างกับคนทำงานรุ่นอายุ 35 หรือ 40 ปีขึ้นไปในหลาย ๆ เรื่อง เช่น ความผูกพันกับองค์กรของคนรุ่นใหม่จะเป็นระยะสั้น ๆ การทำงานแบบเดิมที่เรียกว่า อยู่ยาวกันตลอดชีวิต (Life Time – Employment) ไม่สามารถจูงใจคนรุ่นใหม่ได้อีกต่อไป พวกเขาสนใจ ผลตอบแทนและงานที่ท้าทายมากกว่าความจงรักภักดีที่มีต่อองค์กร แต่ข้อดีของคนรุ่นใหม่ก็มีเช่นกัน พวกเขามีไฟในงานเกิน 110% และให้ความสำคัญกับชีวิตทำงาน พอ ๆ กับชีวิตส่วนตัว เรียกว่า Work-Life Balance กว่าคนรุ่นก่อนมาก
บุคลิกของคนรุ่นใหม่ไฟแรงเหล่านี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนคือ เป็นกลุ่มที่มีความรู้ความสามารถด้านคอมพิวเตอร์ดี มี IQ สูง แต่ขาด EQ มีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง พร้อมทำงานหนักแต่ไม่ค่อยอดทน และกล้าเรียกร้องสิทธิ์และทำตามความต้องการของตัวเอง
เมื่อทราบบุคลิกของคนรุ่นใหม่ผู้ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสรรหาคัดเลือกจึงควรปรับเปลี่ยนมุมมองในการสรรหาคนรุ่นใหม่ให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงที่เปลี่ยนไป โดยอาจมี
แผนรองรับในการสรรหาดังนี้
- สะสมรายชื่อกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่เป็นนักศึกษาปีที่ 3
- เริ่มสัมภาษณ์นักศึกษาปีสุดท้าย 1 เทอมก่อนสอบปลายภาค
- แจ้งการรับเข้าทำงานภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากสัมภาษณ์
- เป็นสปอนเซอร์การแข่งขันกีฬาภายในมหาวิทยาลัยเพื่อสร้างความใกล้ชิดกับนักศึกษา
- กระตุ้นให้พนักงานในบริษัทแนะนำผู้สมัครที่น่าสนใจ
- เสนอการฝึกอบรมทักษะในด้านต่าง ๆ ที่ผู้สมัครขาดเพื่อจูงใจให้มาสมัคร
- สร้างสัมพันธ์กับ Recruitment Agencies หลาย ๆ แห่งเพื่อเพิ่มโอกาสในการได้คนเก่งคนดี
กันเพราะกลุ่มเป้าหมายผู้สมัครเป็นกลุ่มเดียวกัน จึงเกิดการดึงคนในตะกร้าเดียวกันมาก ดังนั้นผู้สรรหาควรปรับกลยุทธ์ในการสรรหาที่เป็นเชิงรุก (Proactive) มากกว่าเชิงรับ (Reactive) เพียงอย่างเดียวจึงจะได้ผู้สมัครเร็วขึ้น เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการสรรหา
นอกจากนี้บริษัทควรสร้าง “BRAND” Image เพื่อกระตุ้นให้ผู้สมัครสนใจ และเน้นผลประโยชน์อื่น ๆ ที่นอกเ
หนือจากเงิน เป็นต้นว่า การให้งานที่ท้าทาย การให้โอกาสก้าวหน้า และการเปิดโอกาส ให้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญ กับคนทำงานรุ่นใหม่ทั้งสิ้น ดูเนื้อหาต่อเนื่องเกี่ยวกับการปรับเงินเดือน
เกี่ยวกับผู้เขียน:
– สำเร็จการศึกษาปริญญาโท MBA จาก Delft University ประเทศเนเธอร์แลนด์
– ปริญญาตรีสังคมศาสตร์และจิตวิทยาจาก Lucknow University ประเทศอินเดีย
– ประสบการณ์ด้านงานบริหารและพัฒนาบุคลากรกว่า 14 ปี
– ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ บริษัท อารีแอนด์แอสโซซิเอทส์ จำกัด
บริษัทที่ปรึกษาด้านบริหารและพัฒนาบุคคลให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในองค์กรขนาดกลางและขนาดย่อม
– นอกจากนี้ยังเป็นกรรมการบริหาร Human Capital Club (HCC) สมาคมอิสระที่มุ่งเน้นการส่งเสริมและยกระดับ วิชาชีพงานบุคคลโดยไม่หวังผลกำไร
– และเป็นผู้ตอบคำถามในคอลัมน์ Ask Expert ของ Website: Nationejobs.com
– ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02-289-2108, 089-811-7570
E-mail: aree@aree-associates.com www.aree-associates.com